Industry 5.0 สำหรับในภาคอุตสาหกรรมนั้น มีการเปลี่ยนแปลง พัฒนาอยู่เสมอ ตามนวัตกรรมและเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัย เพื่อทำให้กระบวนการผลิตนั้นมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อการใช้งานเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อภาคอุตสาหกรรม ซึ่งยุคสมัยของการพัฒนาอุตสาหกรรมจากอดีตจนถึงปัจจุบันแบ่งออกเป็น 5 ยุคสมัย ดังนี้
- ยุคเริ่มแรก 1.0 ใช้พลังงานน้ำและไอน้ำเป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนเครื่องจักรและกลไกในการผลิต อีกทั้งยังใช้แรงงานจากคนทำงานร่วมกันด้วย
- 2.0 เข้าสู่ยุคสายการผลิตแบบ Mass ใช้สายพานลำเลียงและพลังงานไฟฟ้า ร่วมด้วยการใช้แรงงานคนแบ่งตามสถานี (Line) ของการผลิต
- 3.0 สายการผลิตด้วยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ มีการใช้ระบบสารสนเทศและซอฟท์แวร์ในการบริหารทรัพยากรร่วมด้วย
- 4.0: การผลิตระบบอัตโนมัติตามความต้องการเฉพาะบุคคล (Mass customization) และมีการเชื่อมโยงข้อมูลอุปกรณ์และเครื่องจักรเข้ากับโลกเสมือน เรียกว่า CPS (Cyber Physical System) ผ่านระบบ IoT (Internet of Things) เพื่อการบริหารธุรกิจแบบมีความยืดหยุ่นสูง มีข้อมูลที่ชัดเจนออนไลน์ตลอดเวลาแบบเรียลไทม์
- และ Industry 5.0 ซึ่งเป็นการปฏิวัติภาคอุตสาหกรรมที่กำลังมาถึงในอนาคตอันใกล้และคาดว่าจะตอบสนองต่อการช่วยทุ่นแรงมนุษย์ ในการทำงานที่ต้องใช้พละกำลัง ความเสี่ยง หรือการทำงานในรูปแบบซ้ำๆ ด้วยระยะเวลาที่มีจำกัด
Industry 5.0 คืออะไร?
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 5 คือการพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์ (Human) ระบบอัจริยะ (AI) และหุ่นยนต์ (Robot) แนวคิดนี้ออกแบบมาเพื่อให้มนุษย์มีหน้าที่รับผิดชอบงานที่เน้นเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ การวางแผนงานส่วนระบบอัจฉริยะ ในส่วนของหุ่นยนต์ก็เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย เน้นการทำงานหยิบ จับ จัดเรียงชิ้นส่วนต่าง ๆ แม้กระทั่งผลิตชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็กและต้องการความละเอียด หรือในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์
กล่าวง่าย ๆ ว่า Industrial 5.0 เป็น smart technology ที่เพิ่ม collaboration ระหว่าง humans กับ smart systems เข้าด้วยกัน ซึ่งข้อดีก็คือ การผลิตที่รวดเร็ว แม่นยำ ตอบโจทย์ในยุคการแข่งขันปัจจุบัน ที่กำลังเป็นที่นิยมในหลายอุตสาหกรรมหลังจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19
COBOTS ในยุค Industry 5.0
“โคบอท” หรือหุ่นยนต์ร่วมปฎิบัติการมาจากคำว่า Collaborative Robots ถูกนิยามให้เป็น “หุ่นยนต์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อปฎิบัติการร่วมกับมนุษย์ในภาคอุตสาหกรรม” เป็นเครื่องมือทุ่นแรงที่ใช้งานได้หลากหลาย มีน้ำหนักเบา
ซึ่งหุ่นยนต์ร่วมปฎิบัติการนี้แตกต่างจากหุ่นยนต์ทั่วไป ไม่เพียงแต่มีหน้าที่รับคำสั่งแล้วนำมาปฎิบัติ แต่หุ่นยนต์ร่วมปฎิบัติการ ยังสามารถเรียนรู้สิ่งแวดล้อมต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ดูแลความปลอดภัยและลดความเสี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์ ด้วยระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับมนุษย์ สามารถลดความเร็ว หยุดทำงาน และหลบหลีกได้เองเมื่อมีมนุษย์ สิ่งแปลกปลอมเข้าไปใกล้หรือชน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้งานได้
5 ข้อดีของการนำ Cobots มาใช้ในงานอุตสาหกรรม
ปัจจุบัน เริ่มมีการนำโคบอทเข้ามาใช้ในภาคอุตสาหกรรมกันมากขึ้น นอกจากปลอดภัยสูงและสามารถทำงานร่วมกันกับมนุษย์ได้อย่างดีแล้ว ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต และไม่สูญเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น ดังนี้
- ทำงานได้หลากหลายและมีประสิทธิภาพ ช่วยเหลือและทำหน้าที่ที่อาจเป็นอันตรายแทนมนุษย์ นอกจากนี้ยังสามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานที่ซับซ้อนมากขึ้น การทำงานเป็นทีมระหว่างมนุษย์และโคบอทนี้ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอีกด้วย
- ติดตั้งง่าย ประหยัดเวลามากขึ้น อย่าง Robot จะมีการติดตั้งโปรแกรมที่ค่อนข้างยาก มีขั้นตอนที่หลากหลาย และต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการติดตั้ง แต่โคบอทนั้นใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมงในการติดตั้ง สามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถติดตั้งในพื้นที่ที่มีขนาดจำกัด ไม่ใหญ่มากได้
- มีความปลอดภัย ลดความเสี่ยงและลดงานที่ไม่จำเป็น สามารถทำงานร่วมกับคนได้อย่างดี เนื่องจากโคบอทออกแบบมาเพื่อทำงานร่วมกับมนุษย์ และช่วยทุ่นแรงของพนักงาน เช่น การหยิบจับ การป้อนชิ้นงาน การลำเลียงงาน ซึ่งต้องทำงานซ้ำ ๆ อาจจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของพนักงาน อีกทั้งยังช่วยลดความอันตรายที่มาจากไฟฟ้า ความร้อน และสารเคมีต่าง ๆ
- เขียนโปรแกรมสั่งงานได้ง่าย ผู้ใช้สามารถตั้งค่า ปรับเปลี่ยน เขียนคำสั่งโปรแกรมให้เหมาะสมกับการทำงานในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด ซึ่งไม่ว่าใครก็สามารถเขียนโปรแกรมสั่งงานและใช้งานโคบอทได้ โดยไม่ต้องเป็นวิศวกรหรือโปรแกรมเมอร์
- เข้าใจมนุษย์ สามารถทำงานเป็นส่วนหนึ่งของทีมปฏิบัติงานได้ ด้วยระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับ ที่จะแยกแยะคนกับชิ้นงาน โคบอทมีการเคลื่อนไหวที่คงที่และนุ่มนวล หากเกิดการชนสามารถตั้งค่าให้หยุดทำงานได้ และในหลายรุ่นพบว่าแรงที่เกิดขึ้นนั้นเบามาก ไม่สามารถชนอย่างแรงและก่อให้เกิดอันตรายแก่พนักงานได้
Industry 5.0 แรงงานคนจะปรับตัวอย่างไร?
ตามข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าระบบ Automation และ AI ไม่ได้เข้ามาเพื่อแทนที่การทำงานของมนุษย์ แต่เข้ามาอำนวยความสะดวกในการผลิตมากขึ้น เพื่อให้มนุษย์สามารถทำงานในด้านเชิงความคิดสร้างสรรค์มากกว่า โคบอทสามารถเข้ามาช่วยทำงานที่อันตราย หรืองานในลักษณะซ้ำๆ ซึ่งการเคลื่อนไหวซ้ำๆ เป็นสาเหตุหลักในการเกิดอาการบาดเจ็บ เช่น ไส้เลื่อน อาการประสาทมือชา และอาการปวดหลัง อีกทั้งโคบอทยังมีความแม่นยำสูง สามารถนำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ ทั้งการบัดกรี การขันเกลียว และการเชื่อม ผลผลิตที่ออกมายังได้ตรงตามคุณภาพอีกด้วย โคบอทสามารถติดตั้งเซนเซอร์ตรวจจับแรง (Force Sensors) เพื่อใช้ออกแรงกับสิ่งของต่างๆ เช่น การขัด บด หรือวาดภาพ ซึ่งโคบอทสามารถนำไปใช้ได้กับทุกๆ ผลิตภัณฑ์ และสามารถทำงานร่วมกันกับมนุษย์โดยที่มีความปลอดภัยสูง และเพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุดอีกด้วย
สามารถอ่านบทความอื่นๆ เกี่ยวกับการเลือกโกดังให้เช่าและคลังสินค้าให้เช่าได้ที่ > https://www.warehousemyspace.com/บทความ/